บทความ

ความหมายของยาปฏิชีวนะ

รูปภาพ
              ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หรือยาต้านจุลชีพ หมายถึง ยาที่ผลิตมาจากสิ่งมีชีวิต เพื่อใช้รักษาโรคติดเชื้อ   ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อยตามคุณสมบัติของยาในการกำจัดเชื้อแต่ละชนิด เช่น ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านไวรัส ยาต้านเชื้อราชื่ออื่นที่ใช้เรียกยาปฏิชีวนะ เช่น ยาฆ่าเชื้อ หรือ ยาแก้อักเสบ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นยาที่มีคุณสมบัติครอบจักรวาล สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด แก้อาการอักเสบได้ทุกชนิด ความจริงแล้วยังมีโรคที่เกิดจากภาวะการอักเสบอีกมากมาย ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อาจต้องใช้ยาแก้อักเสบ ที่มี คุณสมบัติลดการอักเสบโดยตรง เช่น ยาแอสไพริน หรือพักการใช้อวัยวะส่วนนั้นจนกว่าจะหายดี นอกจากนี้ยังมีการอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การที่ข้ออักเสบจากโรครูห์มาตอยด์ หรือ จากการบาดเจ็บเสียงแหบ เนื่องจากหลอดเสียงอักเสบ เพราะใช้เสียงมาก ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์ต่อการรักษา                  ที่มา:     http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asppage2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15517&id_L3=321

อันตรายหากใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง

รูปภาพ
ยาปฏิชีวนะ ” ยาอันตราย..ห้ามซื้อกินเอง หลายคนอาจคิดว่า การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็ไปซื้อยามากินเองได้ สะดวกและง่ายดี แต่แท้จริงแล้วหากเราใช้ ยา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญดูแล เช่น แพทย์ เภสัชกร ดูให้ ยาที่เราซื้อมากินเองนั้น ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น แพ้ยา ดื้อยา หรือเสียชีวิตได้ องค์การเภสัชกรรม ได้ออกเตือนคนไทย ที่ชอบนิยมซื้อ ยาปฏิชีวนะ มากินเอง และซื้อมากินบ่อยจะเกินความจำเป็น  ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อการดื้อยาสูง และแพ้ยาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มยาปฏิชีวนะเข้าสู่ร่างกายโดยเปล่าประโยชน์  โรคที่เป็นอยู่ก็ไม่หาย ซึ่งองค์การเภสัชกรรมแนะนำว่าต้องกินยาอย่างถูกวิธี ต่อเนื่องจนครบและซึ้อยาจากร้านที่มีเภสัชประจำร้านดูแล และสามารถให้คำแนะนำการใช้ยาเท่านั้น เกสัชกรหญิงนิภาพร ชาตะวิริยะพันธ์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เผยว่า จากผลการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชาชนไทยนิยมซื้อยามากินเอง ถึงร้อยละ 15 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยกินยาปฏิชีวนะมากถึง 20% ของยาทั้งหมด  การใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยในปัจจุบันนี้พบว่านิยมซื้อยากินเองจากร้านขา

การป้องกันการดื้อยา

รูปภาพ
ยิ่งใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น เหตุผลหลักที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยามากขึ้น ก็เนื่องจากมีการใช้ยาปริมาณมากขึ้น มีรายงานวิจัยยืนยันว่าอัตราการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียจะแปรผันตรงตามอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดไหนมากขึ้น ก็จะชักนำให้เกิดการดื้อยาชนิดนั้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ที่เป็นเช่นนี้เพราะทุกครั้งที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ยาจะไปออกฤทธิ์ที่ตัวแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียถูกยับยั้งการเจริญเติบโตหรือตายไป แต่ตามธรรมชาติมักมีการผ่าเหล่า ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียบางตัวทนต่อยา ดื้อกับยา และรอดชีวิต ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ 1 ในล้านตัว แล้วเชื้อแบคทีเรียที่รอดตายก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ขยายเผ่าพันธุ์การดื้อยาให้มีเป็นเท่า ทวีคูณ และทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่ดื้อต่อยา เป็นปัญหาใหญ่ทางการแพทย์ได้                 โรคไข้หวัดไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะอีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นตัวเสริมให้เกิดการดื้อยา ก็คือการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส เช่น โรคไข้หวัด (รวมถึงไข้หวัดใหญ่ด้วย)  ไข้หวัดเป็นโ

ปัญหาการดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

รูปภาพ
        เชื้อดื้อยา…คือ เชื้อดื้อยาในที่นี้คือ  เชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ  ซึ่งเชื้อดื้อยานี้จะทนต่อยาที่เคยยับยั้งหรือฆ่าตัวเชื้อได้ ส่งผลให้ยาที่เคยใช้ได้ผลกลับใช้ไม่ได้ผล ทำให้ไม่หายจากการติดเชื้อ และมีโอกาสแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่คนอื่นๆได้อีก โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยและมักพบว่ามีสาเหตุจากเชื้อดื้อยาอยู่บ่อยครั้ง เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปอดอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด กลไกของการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นอย่างไร กลไกการเกิดการดื้อยานั้นมีหลายกลไก ได้แก่ การผลิตเอนไซม์มาทำลายยา ทำให้ยาปฏิชีวนะไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายที่ยาไปออกฤทธิ์ โดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป้าหมายทำให้ยาจับกับเป้าหมายไม่ได้ ยาจึงออกฤทธิ์ไม่ได้ มีการผลิตเป้าหมายที่ยาไปออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น ทำให้ยาที่มีอยู่ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การดื้อยายังเกิดจากลดการนำยาเข้ามาในเซลล์ รวมถึงเพิ่มการขับออกยาออกจากเซลล์อีกด้วย เชื้อดื้อยา…เกิดขึ้นได้อย่างไร การเกิดแบคทีเรียที่เป็นสายพันธุ์ดื้อยา เป็นกลไกตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากการแบ่งตัวของแบคทีเ

รอบรู้ปลอดภัยกับยาปฏิชีวนะ

รูปภาพ
ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ          ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่คนทั่วไปมักเรียกยาปฏิชีวนะว่า ยาแก้อักเสบ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จึงไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เช่น หลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ คออักเสบจากเชื้อไวรัส ข้ออักเสบจากโรคเกาต์ อาการปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นต้น ยาปฏิชีวนะมีหลายชนิด เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน เตตร้าซัยคลิน เอซิทโทรมัยซิน ซิพโพรฟล็อกซาซิน โคทรัยม็อกซาโวล ซัลฟาคลินดามัยซิน แต่ละชนิดใช้รักษาแบคทีเรียต่างกัน ดังนั้น อย่าเรียก "ยาปฏิชีวนะ" ว่า ยาแก้อักเสบ เพราะทำให้เข้าใจผิดว่า ทุกครั้งที่มีอาการอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งไม่ถูกต้อง   3 โรคหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หวัดเจ็บคอ...ต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่? หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหวัดเจ็บคอต้องกินยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ นั่นคือความเชื่อที่ผิด เพราะหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส แต่ยาปฏิชีวนะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การกินยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคที

การใช้ยาปฏิชีวนะในชีวิตประจำวัน

รูปภาพ
                          ยาปฏิชีวนะ หรือ แอนตี้ไบโอติก (Antibiotic) เป็นยารักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโดยทั่วไปแล้วหมายถึงเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันมีการใช้คำอื่นทดแทน คือยาต้านจุลชีพ หรือยาต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial) โดยยากลุ่มนี้จะใช้เมื่อแพทย์ให้การวินิจฉัยหรือคาดว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ในสังคมไทยประชาชนทั่วไปมักเรียกยา กลุ่มนี้เป็นยาแก้อักเสบทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น เพราะยาจะไปรักษาหรือแก้การอักเสบซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ยาปฏิชีวนะที่เป็นที่คุ้นเคยและผู้ป่วยมักซื้อใช้เองได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) อ็อกเมนติน (augmentin) นอร์ฟล็อกซาซิน (norfloaxacin) เตตร้าซัยคลิน (tetracycline) อะซีโทรมัยซิน (azithromycin) เป็นต้น เหตุใดจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้เนื่องจากยาทุกชนิด มีทั้งประโยชน์ในการรักษาโรคและมีโทษจากผลข้างเคียงของยา นอกจากนี้ยังเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะและเมื่อใช้ไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย ได้แก่ 1. ต้องได้รับผลข้างเคียงจากยาไม่ว่าจะเป็นอ